วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

  8  July  2013

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207


Time 8:30 - 12:20 am
ครั้งที่ 4

อากาศ (The air)


อากาศเป็นของผสม ประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจน 78% ก๊าซออกซิเจน 21% ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.03% ก๊าซเฉื่อย เช่น Helium , Nion , Argon , Krypton ซึ่งเป็นก๊าซที่ไม่ทำปฏิกิริยาเคมี โดยมากมักใส่หลอดไฟ นอกจากนี้ยังมีสารพิษในอากาศ (Air Pollution) ซึ่งอาจเป็นก๊าซ เช่น sulfur dioxide , nitrogen oxide , ozone , hydrocarbons และ carbon monoxide หรืออาจจะเป็นอนุภาคของสารบางชนิด เช่น ควัน astestos และ lead aerosols (มาจาก lead gasoline) แหล่งของก๊าซพิษในอากาศส่วนใหญ่มาจากยวดยานพาหนะ , ควันบุหรี่และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ นอกจากนี้ในอากาศยังมีฝุ่นละอองและจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ การแก้ไขมลพิษในอากาศไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะว่ายวดยานพาหนะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมลพิษมากกว่าครึ่งหนึ่ง ใครเป็นคนขับรถยนต์พาหนะเหล่านี้ ตัวเราเองด้วยใช่หรือไม่ หากเรามีความปรารถนาอย่างแท้จริงในการแก้ปัญหานี้ เราควรจะเดิน ขี่จักรยาน ขึ้นรถประจำทางและหากมีความจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องใช้รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ ก็ควรซื้อเครื่องยนต์ที่มีกำลังแรงต่ำ ไม่มีเครื่องประกอบกระจุกกระจิกที่ฟุ่มเฟือย
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้จากการสันดาป (combustion) หรือจากการหายใจของคน, สัตว์, พืช พืชได้ใช้ก๊าซคาร์บอกไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างอาหารหรือคาร์โบไฮ- เดรท โดยขบวนการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis)
การสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) หมายถึง กระบวนการที่พืชสีเขียวเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศและน้ำในดิน โดยอาศัย chlorophyll (วัตถุสีเขียวในพืช) และแสงแดดเปลี่ยนไปเป็น glucose หรือ carbohydrate และออกซิเจน






ก๊าซออกซิเจน (O2) ออกซิเจนเป็นธาตุที่มีมากที่สุดบนพื้นผิวโลก เช่นในอากาหรือผสมกับสารอื่นทั่วๆ ไป ในทะเลและทะเลสาบมีออกซิเจนประมาณ 80% โดยรวมเป็นสารประกอบต่างๆ ในดินมีประมาณ 50%
คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของออกซิเจน ในอุณหภูมิห้องออกซิเจนเป็นก๊าซที่ไม่มีสี, กลิ่นและรส หนักกว่าอากาศเล็กน้อยและละลายน้ำได้เล็กน้อย ความหนาแน่นของออกซิเจน คือ 1.43 g/litter ส่วนความหนาแน่นของอากาศคือ 1.29 g/litter ดังนั้นออกซิเจนจึงหนักกว่าอากาศเล็กน้อย เมื่อลดอุณหภูมิให้ต่ำลง ออกซิเจนจะกลายเป็นของเหลว สีฟ้าอ่อน ที่ -182.5 oc และถ้าลดอุณหภูมิลงอีก จะกลายเป็นของแข็ง สีฟ้าอ่อน มีจุดเยือกแข็งที่ -218.4 oc
คุณสมบัติทางเคมีของออกซิเจน เป็นธาตุที่สามารถทำปฏิกิริยากับธาตุต่างๆ ปานกลางในอุณหภูมิห้อง และจะมีปฏิกิริยามากขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ออกซิเจนสามารถทำปฏิกิริยากับธาตุต่างๆ เกือบทั้งหมด ให้สารประกอบเรียกว่า oxidesปฏิกิริยาระหว่างออกซิเจนกับสารอื่นดังกล่าว เป็นตัวอย่างของออกซิเดชั่น (oxidation)



ออกซิเดชั่น (Oxidation) หมายถึงกระบาวนการที่มีการเติมออกซิเจน หรือหมายถึงการสูญเสีย electron หรือการเพิ่ม oxidation number
ตัวอย่างการออกซิเดชั่น
1. การสันดาป (combustion) หมายถึงขบวนการที่สารรวมกับออกซิเจนจนเกิดเป็น oxide มีความร้อนและแสงสว่างเกิดขึ้น เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงพวกถ่านหิน ถ่านไฟ หรือน้ำมัน
ปัจจัยที่มีผลต่อการสันดาป คือ เชื้อเพลิงและออกซิเจน หากเกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ (complete combustion) จะได้เปลวไฟสีน้ำเงินใส (bright blue) แต่ถ้าเเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์จะมีสีเหลือแดง ทำให้เกิดเขม่าดำแก่ภาชนะ อย่างไรก็ตามออกซิเจนไม่มีความจำเป็นทั้งหมดสำหรับปฏิกิริยาการสันดาป เช่น เมื่อเอาผงเหล็กและกำมะถันไปทำให้ร้อนในหลอดแก้ว จะเกิดปฏิกิริยาอย่างรวดเร็ว เกิดความร้อนและแสงสว่างขึ้น ปฏิกิริยานี้เรียกว่าการสันดาปเช่นกันแต่ไม่มีออกซิเจนที่เกี่ยวข้องด้วย
2. การระเบิด คือขบวนการสันดาปที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น การระเบิดของดินปืนหรือก๊าซถ่านหิน
3. การหายใจ คือขบวนการนำออกซิเจนเข้าไปในร่างกายเพื่อไปทำให้เกิดปฏิกิริยากับสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน ทำให้เกิดคาร์บอกไดออกไซด์ น้ำ และพลังงาน เช่น ออกซิเดชั่นของกลูโคส (Glucose) ปฏิกิริยาดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ในอุณหภูมิต่ำ โดยอาศัยเอนไซม์ (enzyme) เป็น catalyst และจะต้องผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอนด้วยกันกว่าจะได้คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และพลังงาน
4. การฟอกจาง คือขบวนการที่เติมออกซิเจนให้กับสารที่มีสี เพื่อไปเปลี่ยนเป็นไม่มีสี หรือจางลง เช่น การฟอกจางเส้นใย ผ้า และแป้งต่างๆ
5. การเกิดสนิมเหล็ก คือ ขบวนการเติมออกซิเจให้กับเหล็กอย่างช้าๆ โดยมีไอน้ำด้วย ทำให้เกิดเหล็กออกไซด์เป็น ferrous oxide หรือ ferric oxide เกิดเป็นสนิมขึ้น






 1  July  2013

Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207



Time 8:30 - 12:20 am


ครั้งที่ 3



     แสง
             แสง  เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่รับรู้ได้ด้วยสายตา  แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้
                                                             แหล่งกำเนิดแสง
             แหล่งกำเนิดแสง  หมายถึง  สิ่งที่ทำให้เกิดแสงได้ โดยแยกได้   3  ประเภท ดังนี้
              1. แสงที่เกิดจากธรรมชาติ  เช่น  ดวงอาทิตย์ ดวงดาวบางดวง  ฟ้าแลบ  ฟ้าผ่า แสงจากดวงอาทิตย์ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ใหญ่ที่สุด                                
              2. แสงจากสัตว์  สัตว์บางชนิดจะมีแสงในตัวเอง  เช่น หิ่งห้อย แมงดาเรือง
               3. แสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น  เช่น  แสงจากไฟฉาย เทียนไข หลอดไฟฟ้า แสงที่เกิดจากการลุกไหม้
                                          การเดินทางของแสง
               แสงเดินทางจากแหล่งกำเนิดด้วยความเร็วมาก โดยเดินทางได้ 186,000  ไมล์ต่อวินาที หรือ 300,000  กิโลเมตร ต่อวินาที  แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง และเดินทางผ่านสุญญากาศได้  เช่น  แสงจากดวงอาทิตย์เดินทางมายังโลกของเรา โดยผ่านสุญญากาศ ผ่านอากาศมายังโลกของเราใช้เวลา  8  นาที  ซึ่งดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกของเราถึง  93  ล้านไมล์
                                        ตัวกลางของแสง
              ตัวกลางของแสง  หมายถึง   วัตถุที่ขวางทางเดินของแสง โดยแบ่งเป็น  3  ประเภท ดังนี้
               1. ตัวกลางโปร่งใส  หมายถึง  ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านไปได้หมด  เช่น น้ำใส พลาสติกใส กระจกใส อากาศ แก้วใส
               2. ตัวกลางโปร่งแสง  หมายถึง  ตัวกลางที่แสงผ่านไปได้ดี  แต่ผ่านได้ไม่หมด เช่น  น้ำขุ่น กระจกฝ้า หรือหมอกควัน เป็นต้น
               3. ตัวกลางทึกแสง  หมายถึง  ตัวกลางที่แสงผ่านไม่ได้เลย เช่น  สังกะสี กระเบื้อง กระจกเงา เป็นต้น
                                        การหักเหของแสง
                 แสงเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางอย่างเดียว จะเดินทางเป็นเส้นตรง แต่เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางอย่างหนึ่ง ไปยังตัวกลางอีกอย่างหนึ่ง ที่มีความหนาแน่นต่างกัน จะเกิดการหักเหของแสง เช่น  แสงเดินทางจากน้ำผ่านอากาศ หรือจากอากาศผ่านไปยังน้ำ จะเกิดการหักเหตรงรอยต่อ
                                      การหักเหของแสงผ่านเลนส์
                        เลนส์  คือ   วัตถุโปร่งใสที่ทำจากแก้วหรือพลาสติก ลักษณะของเลนส์จะมีผิวโค้งบริเวณตรงกลาง และส่วนขอบจะหนาไม่เท่ากัน  เลนส์แบ่งออกได้  2  ชนิด  คือ
               1. เลนส์นูน  มีลักษณะตรงกลางนูนโค้งและมีส่วนขอบบางกว่า แสงเมื่อเดินทางผ่านเลนส์นูนจะเกิดการหักเห  รวมแสงที่จุด จุดหนึ่ง ถ้าเราใช้เลนส์นูนส่องดูวัตถุจะทำให้ดูว่าวัตถุใหญ่ขึ้น เช่น การมองตัวหนังสือผ่านเลนส์นูน
               2. เลนส์เว้า  มีลักษณะขอบโดยรอบหนากว่าส่วนกลางของเลนส์เมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์เว้าจะเกิดการหักเห  และกระจายออกจากกัน ดังนั้นเลนส์เว้าจึงมีคุณสมบัติในการกระจายแสงเมื่อเรามองวัตถุผ่านเลนส์เว้าภาพที่เกิดจะมองเห็นวัตถุเล็กลงกว่าเดิม เช่น การมองตัวหนังสือผ่านเลนส์เว้า




24  June  2013




Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207


Time 8:30 - 12:20 am
ครั้งที่ 2                                                                                                                             
  วิทยาศาสตร์ (Science)
มาจากภาษาลาตินว่า Scientia” แปลว่า “ความรู้ทั่วไป”


 ซึ่งเป็นความหมายที่กว้างมากที่ใช้ในอดีต (สุนันท์ บุราณรมย์ และคณะ, 2542 : 2-3) เนื่องจากในอดีตยังไม่มีการค้นพบความรู้มากมายเหมือนในปัจจุบัน  ดังนั้น วิทยาศาสตร์จึงมีความหมายในลักษณะที่ครอบคลุมความรู้ทั้งหมดของมนุษย์  ต่อมาเมื่อมนุษย์มีการค้นพบความรู้มากขึ้นและได้พิสูจน์ความรู้ต่างๆ   สิ่งใดเป็นจริงจะได้รับการยอมรับ ส่วนสิ่งใดไม่จริงก็จะถูกปฏิเสธ  ทำให้ความหมายของคำว่าวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งความหมายของคำว่า วิทยาศาสตร์ ในปัจจุบันมีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน เช่น ภพ เลาหไพบูลย์ (2540: 2)  ได้สรุปความหมายของวิทยาศาสตร์ว่า “วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สืบค้นหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป


            สุนันท์ บุราณรมย์ และคณะ (2542 : 2-3) ได้ให้ความหมายไว้ว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ที่แสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง เป็นความจริง ซึ่งความรู้ดังกล่าวได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือจากการทดลอง โดยเริ่มต้นจากการสังเกต การตั้งสมมติฐาน การทดลองอย่างมีแบบแผน แล้วจึงสรุปเป็นทฤษฏีหรือกฎขึ้น แล้วนำแล้วนำทฤษฏีหรือกฎที่ได้ไปใช้ศึกษาหาความรู้ต่อไปเรื่อยๆ 

             พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 1075) ได้ให้ความหมายว่า“วิทยาศาสตร์  คือ ความรู้ที่ได้โดยการสังเกต และค้นคว้าจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ, วิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ” 

             โดยสรุป “วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งสามารถแสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง และเป็นความจริง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ แล้วจัดความรู้นั้นเข้าเป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่”







             จากการนิยาม เมื่อพิจารณาจะพบว่าในความหมายของวิทยาศาสตร์นั้นมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ


1. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากธรรมชาติ โดยวิธีการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แบ่งได้เป็น 6 ระดับ ได้แก่ ข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอดหรือมโนมติ สมมติฐาน หลักการ ทฤษฏี กฎ (รายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อ 1.2.2) 

2. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Process) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ สามารถค้นหาความรู้จากธรรมชาติได้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย 

     1) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) 

     2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Skill) 

     3) เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitude) (รายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อ 1.2.3) 
3. สาขาของวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดแบ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีลักษณะเรื่องราวที่เหมือนกันเข้าอยู่ในกลุ่มเดียวกันให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อมีระบบระเบียบให้ง่ายต่อการค้นหา เปรียบได้กับถ้าเราจะค้นหาหนังสือสักเล่มในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่วางหนังสือไม่เป็นระเบียบ เราคงเสียเวลาในการค้นหาหนังสือเป็นเวลานานและอาจหาหนังสือที่ต้องการไม่เจอ เพราะไม่รู้ว่าหนังสือถูกเก็บไว้ที่ใดจึงต้องตรวจหาหนังสือในห้องสมุดทีละเล่ม ซึ่งแตกต่างจากการหาหนังสือเล่มเดียวกันนี้ที่จัดไว้ในห้องสมุดที่มีการจัดระบบไว้เป็นอย่างดีสามารถค้นหาได้ง่าย ดังนั้น การจัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่อย่างมากมายให้เป็นระบบจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง (รายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อ 1.2.1)