วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

                                                                 สรุปวิจัย

ผลการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตรขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2 
ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรยนรุ้ของสมอง 
(Brain – based Learning)


การศึกษาคนควาอิสระ 
ของ 
สารภี ชมภูคํา 


ปริญญาการศึกษามหาบณฑั ิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน 
ธันวาคม 2552 



การเรียนรู้ตามแนวคิดพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง (Brain–based Learning) เป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้อง

กับวิถีการเรียนรู้และการทำงานของสมองทางธรรมชาติโดยตระหนักถึงความสำคัญของพัฒนาการตาม

ศักยภาพของสมองในแต่ละวัย ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้โดยใช้ประสาท

สัมผัสทั้งห้าให้เด็กและเยาวชนมีระดับสติปัญญาและวุฒิภาวะที่พร้อมจะเรียนรู้การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่ง

หมายเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตาม

แนวคิดพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบทักษะ

วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง ก่อนและ

หลังการจัดประสบการณ์และเพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนการจัด

ประสบการณ์ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการเรียนรู้

ของสมอง กลุ่มประชากร ได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาเวียง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา

 2552 จำนวน 17 คน เป็นการศึกษาทั้งกลุ่มประชากร เนื่องจากชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีนักเรียนห้องเดียว แล้วทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ใช้เวลาการศึกษา 

5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ชนิด ประกอบด้วย 

แผนการจัดประสบการณ์ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฎดังนี้

1. ผลการฝึกด้วยชุดกิจกรรมทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตา

มแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง มีประสิทธิภาพ 81.06 / 81.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์พัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานขอ
งนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการ และการเรียนรู้ของสมอง มีค่าเท่ากับ 0.6954

3. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ตามแนวคิด

พัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง อยู่ในระดับดีมาก




โดยสรุป 


การเรียนโดยใช้ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิด

พัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง ส่งผลให้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เรียนรู้ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้น

ฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนของนักเรียน

ให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

                                        สรุปวิจัย 

                    เรื่อง  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาตร์นอกห้องเรียน


-  การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

สรุปกระบวนการทางวิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นประเด็กที่สำคัญต่อการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาตร์ สิ่งที่ควรจัดให้เด็กคือการเปิดโอกาสให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
 ในการสังเกต  สำรวจ ค้นคว้า ทดลองเก็บรวบรวมข้อมูลและลงมือทำกิจกรรมเอง ทั้งนี้ควรคำนึงถึงความสนใจ ความสามรถของเด็ก







ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทั้ง 13 ทักษะ

1.ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร

การกำหนดตัวแปร เป็นการชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุม
ในสมมติฐานหนึ่ง ๆ การควบคุมตัวแปร เป็นการควบคุมสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ถ้าหากไม่ควบคุม ให้เหมือนๆ กัน ก็จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน
ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เราต้องจัดให้แตกต่างกัน ซึ่งเป็นต้นเหตุ ทำให้เกิดผล ซึ่งเราคาดหวังว่าจะแตกต่างกัน ตัว
แปรตาม คือ สิ่งที่เราต้องติดตามดู ซึ่งเป็นผลจากการจัดสถานการณ์บางอย่าง ให้แตกต่างกัน
ตัวแปรควบคุม คือ สิ่งที่เราต้องควบคุมจัดให้เหมือนกันเพื่อให้แน่ใจว่า ผลการทดลอง เกิดจากตัวแปรต้นเท่านั้น

2.ทักษะการคำนวณ คือ การนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้ มาคิดคำนวณโดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย

3.ทักษะการจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล เป็นการนำผลการสังเกต การวัด การทดลองจากแหล่งต่าง ๆ โดยการหาความถี่ เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย ของข้อมูลดียิ่งขึ้น โดยอาจเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ วงจร กราฟ สมการ และการเขียนบรรยาย

4.ทักษะการจำแนกประเภท คือ การแบ่งพวก หรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ โดยใช้เกณฑ์ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

5.ทักษะการตั้งสมมติฐาน คือ การคิดหาคำตอบล่วงหน้า ก่อนจะทำการทดสองโดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิม เป็นพื้นฐานคำตอบที่คิดล่วงหน้าซึ่งยังไม่ทราบ หรือยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือ ทฤษฎีมาก่อน สมมติฐาน หรือคำตอบที่คิดไว้ล่วงหน้า มักกล่าวไว้เป็นข้อความ ที่บอก ความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต้น กับตัวแปรตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจถูก หรือผิดก็ได้ ซึ่งจะทราบภายหลัง การทดลอง หาคำตอบเพื่อสนับสนุน หรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้

6.ทักษะการตีความหมายข้อมูล และลงข้อสรุป การตีความหมายข้อมูล คือ การแปรความหมาย หรือ การบรรยาย ลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การลงข้อสรุป คือ การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด

7.ทักษะการทดลอง มี 3 ประเภท คือ การทดลองแบบแบ่งกลุ่ม เปรียบเทียบ ไม่มีกลุ่ม เปรียบเทียบและลองผิดลองถูก การทดลองเป็นกระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบ หรือการทดสอบ สมมติฐานที่ตั้งไว้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลองและการบันทึกผลการทดลอ

8.ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ คือ การกำหนดความหมายและขอบเขตของสิ่งต่าง ๆ (ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องทดลอง) ให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดไ
ว้
9.ทักษะการพยากรณ์ คือ การสรุปคำตอบล่วงหน้า ก่อนการทดลองโดยอาศัยประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น มาช่วยในการสรุป การพยากรณ์มีสองทาง คือ การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูลที่มีอยู่และ การพยากรณ์นอกขอบเขตข้อมูลที่มีอยู่

10.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล คือ การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากากรสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย

11.ทักษะการวัด คือ การเลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง โดยมีหน่วยกำกับเสมอ

12.ทักษะการสังเกต คือ ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อหาข้อมูล หรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็น ส่วนตัวลงไป

13.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติ และมิติกับเวลา วัตถุต่าง ๆ ในโลกนี้ จะทรงตัวอยู่ได้ ล้วนแต่ครองที่ที่ว่าง การครอง ที่ของวัตถุในที่ว่างนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมี 2 มิติ ได้แก่ มิติยาว มิติกว้าง และมิติสูงหรือหนา







การจัดกิจกรรมนอกสถานที่  หมายถึง  การพาเด็กไปดูศึกษาของจริง  สถานที่จริง  สิ่งขิงที่ต้องการศึกษาวัตถุประสงค์หลักของการศึกษานอกสถานที่  วัตถุ บุคคล  โรงงาน เครื่องมือ สิ่งเหล่านั้นสามารถนำมาเป็นความร้ในนอกห้องเรียนได้


การจัดประสบการณ์นอกสถานที่มี 3 แบบ

1.การศึกษานอกสถานที่ในระยะใกล้ๆๆๆ
2.การศึกษานอกสถานที่ในระยะ ทางขนาดกลาง
3.การศึกษานอกสถานที่ในระยะทางไกล



จากการจัดกิจกรรมให้เด็กนอกสถานที่นั้น  

สรุปได้ว่ 
กิจกรรมการศึกษานอกชั้นเรียนมีคุณค่าโดยตรงต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เป็นประสบการณณ์ตรงที่

เป็นรากฐานในการเรียน   การที่เด็กได้ค้นพบด้วยตนเอง  จะทำให้เด็กจดจำได้นาน  การเรียนในสิ่ง

ที่ตนรักและสนใจทำ  ให้มีคาวมสุขที่จะเรียนด้วยความกระตือรือร้น  ดังนั้นถึงได้พัฒนาทั้งทางกา

  จิตใจ อารมณ์และสังคมได้อย่างดี






วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

30  September  2013


Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am
ครั้งที่  19


เนื้อหา

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทั้ง 13 ทักษะ

1.ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร

การกำหนดตัวแปร เป็นการชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุม
ในสมมติฐานหนึ่ง ๆ การควบคุมตัวแปร เป็นการควบคุมสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ถ้าหากไม่ควบคุม ให้เหมือนๆ กัน ก็จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน
ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เราต้องจัดให้แตกต่างกัน ซึ่งเป็นต้นเหตุ ทำให้เกิดผล ซึ่งเราคาดหวังว่าจะแตกต่างกัน ตัว
แปรตาม คือ สิ่งที่เราต้องติดตามดู ซึ่งเป็นผลจากการจัดสถานการณ์บางอย่าง ให้แตกต่างกัน
ตัวแปรควบคุม คือ สิ่งที่เราต้องควบคุมจัดให้เหมือนกันเพื่อให้แน่ใจว่า ผลการทดลอง เกิดจากตัวแปรต้นเท่านั้น

2.ทักษะการคำนวณ คือ การนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้ มาคิดคำนวณโดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย

3.ทักษะการจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล เป็นการนำผลการสังเกต การวัด การทดลองจากแหล่งต่าง ๆ โดยการหาความถี่ เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย ของข้อมูลดียิ่งขึ้น โดยอาจเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ วงจร กราฟ สมการ และการเขียนบรรยาย

4.ทักษะการจำแนกประเภท คือ การแบ่งพวก หรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ โดยใช้เกณฑ์ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

5.ทักษะการตั้งสมมติฐาน คือ การคิดหาคำตอบล่วงหน้า ก่อนจะทำการทดสองโดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิม เป็นพื้นฐานคำตอบที่คิดล่วงหน้าซึ่งยังไม่ทราบ หรือยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือ ทฤษฎีมาก่อน สมมติฐาน หรือคำตอบที่คิดไว้ล่วงหน้า มักกล่าวไว้เป็นข้อความ ที่บอก ความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต้น กับตัวแปรตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจถูก หรือผิดก็ได้ ซึ่งจะทราบภายหลัง การทดลอง หาคำตอบเพื่อสนับสนุน หรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้

6.ทักษะการตีความหมายข้อมูล และลงข้อสรุป การตีความหมายข้อมูล คือ การแปรความหมาย หรือ การบรรยาย ลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การลงข้อสรุป คือ การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด

7.ทักษะการทดลอง มี 3 ประเภท คือ การทดลองแบบแบ่งกลุ่ม เปรียบเทียบ ไม่มีกลุ่ม เปรียบเทียบและลองผิดลองถูก การทดลองเป็นกระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบ หรือการทดสอบ สมมติฐานที่ตั้งไว้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลองและการบันทึกผลการทดลอ

8.ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ คือ การกำหนดความหมายและขอบเขตของสิ่งต่าง ๆ (ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องทดลอง) ให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดไ
ว้
9.ทักษะการพยากรณ์ คือ การสรุปคำตอบล่วงหน้า ก่อนการทดลองโดยอาศัยประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น มาช่วยในการสรุป การพยากรณ์มีสองทาง คือ การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูลที่มีอยู่และ การพยากรณ์นอกขอบเขตข้อมูลที่มีอยู่

10.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล คือ การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากากรสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย

11.ทักษะการวัด คือ การเลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง โดยมีหน่วยกำกับเสมอ

12.ทักษะการสังเกต คือ ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อหาข้อมูล หรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็น ส่วนตัวลงไป

13.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติ และมิติกับเวลา วัตถุต่าง ๆ ในโลกนี้ จะทรงตัวอยู่ได้ ล้วนแต่ครองที่ที่ว่าง การครอง ที่ของวัตถุในที่ว่างนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมี 2 มิติ ได้แก่ มิติยาว มิติกว้าง และมิติสูงหรือหนา




- อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มส่งของเล่นเข้ามุมและสื่อของเล่นทางวิทยาสาสตร์ เพื่อไปจัดนิทรรศการสื่อของเล่นทางวิทยาศาตร์




- สรุปองค์ความรู้ที่สรุปการเรียนแต่ละชั่วโมงเรียน

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ทักษะขั้นผสม
-ทักษะและการกำหนดควบคุมตัวแปร
-ทักษะการตั้งสมมุติฐาน
-ทักษะกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
-ทักษะการทดลอง
-ทักษะการตีความหมายข้อมูลและสรุป

ทักษะขั้นพื้นฐาน
-ทักษะการสังเกต
-ทักษะการลงเห็นจากข้อมูล
-ทักษะการจำแนกประเภท
-ทักษะการวัด
-ทักษะการใช้ตัวเลข
-ทักษะการสื่อความหมายตัวเลข
-การพยากรณ์
-การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสเวลา













 23     September  2013


Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am
ครั้งที่  18


- อาจารย์ให้กลุ่มเพื่อนที่เขียนแผนเรื่องแกงจืด  ที่เพื่อนแต่ละกลุ่มได้คัดเลือกว่าแผนของกลุ่มไหนดีจากสัปดาห์ที่แล้ว  แล้วนำมาสอนเพื่อน














มีวิธีดังนี้

ส่วนประกอบ

ส่วนประกอบ


  • หมูสับ ½ ถ้วยตวง
  • วุ้นเส้นแช่น้ำ หั่นเป็นท่อนยาว 1 นิ้ว ½ ถ้วยตวง
  • คนอร์อร่อยชัวร์รสหมู ½ ช้อนชา
  • แครอทสับหยาบ 1 ช้อนโต๊ะ
  • รากผักชีบุบ 1 ราก
  • คนอร์ซุปหมูก้อน 2 ก้อน
  • ฟักหั่นเป็นชิ้น พอดีคำ 3 ถ้วยตวง (350 กรัม)
  • น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง
  • ต้นหอม และผักชีซอยเป็นท่อนๆ 2 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ


  • นำหมูสับ วุ้นเส้น แครอทสับหมักกับคนอร์ผงปรุงรสหมูให้เข้ากัน แล้วพักไว้
  • ตั้งหม้อต้มน้ำบนไฟกลางจนเดือด ใส่รากผักชี และคนอร์ซุปหมูก้อนลงไป คนให้ละลาย
  • ใส่ฟักลงไป ต้มด้วยไฟอ่อนประมาณ 8-10 นาที ใส่หมูสับที่หมักไว้โดยปั้นเป็นก้อนๆ หากมีฟองให้ช้อนฟองออก
  • ต้มต่อจนส่วนผสมทั้งหมดสุก (ประมาณ 2 นาที) เมื่อฟักสุกจะเปลื่ยนเป็นสีใส ยกออกจากเตา จัดใส่ชาม โรยหน้าด้วยต้นหอม ผักชีตามชอบพร้อมเสิร์ฟ


สรุปความรู้ที่ได้จากรายวิชา

- ได้รับคาวมรู้จากการนำเครื่องปรุงอาหารว่าควรทำอย่างไร  รู้ลำดับขั้นตอนในการทำแกงจืด
วิธีการที่ทำให้น้ำซุปหอมหวาน 
ลำดับในการสอนเด็กในเวลาที่เรามาทดลองหรือพาเด็กมาทำอาหาร
ว่าเราควรพูดอย่างไรให้เด็กได้คิดในเวลาที่เราพาทำกิจกรรม








วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

  

16 September 2013


                     Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207                       

                      Time 8:30 - 12:20 am


ครั้งที่  17




อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม กลุ่มละ 8-10 คน   ได้เรียนเกี่ยวกับการเขียนแผนและการจัดประสบการณ์การทำอาหาร


กลุ่มดิแันได้เลือกการทำราดหน้า














วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556



                      15 September 2013


                     Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207                       

                      Time 8:30 - 12:20 am


ครั้งที่  16



*  อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นเข้ามุม  กลุ่มดิฉันได้นำเสนอของเล่นเข้ามุม ภาพมิติ ซึ่งมีสมาชิกดังนี นางสาวนฤมล  มลิวัลย์
นางสาวศริวรรณ ปานมุข
นางสาวชิดชนก   เสโส











วัสดุอุปกรณ์
1.กระดาษทิชชู
2.สีน้ำ
3.พู่กัน
4.กล่องกระดาษหรือกล่องลัง
5.กรรไกร
6.กาวน้ำ
7.น้ำเป็นส่วนประกอบ



วิธีทำ
1.นำกระดาษกล่่องมาตัดเป็นรูปต่างๆที่เราอยากวาด
2.จากนั้นนำรูปที่เราวาดเสร็จแล้วมาตัดตามรูปที่เราวาดได้เลย
3.นำรูปที่เราตัดเสร็จแล้วมาติดบนกระดาษลังแผ่นสี่เหลี่ยมให้มันดูมีมิติขึ้นไปอีก
4.นำทิชชูที่ผสมกับกาวน้ำมาติดบนรูปภาพที่เราวาด
5.พอทิชชูที่เราติดบนรูปแห้งแล้ว เราก็นำสีมาระบายให้สวยงามตามจินตนาการของเรา
 ที่เหลือเราก็ตกแต่งอย่างอื่นจะวาดรูปภาพเพิ่มเติมก็ได 


  หลักการทางวิทยาศาสตร์

ถ้าเรามองในมุมที่ต่างองศากันก็จะทำให้เราเห็นรูปภาพที่ต่างกันออกไป 
 เช่นเดียวกับการมองให้มีมิติ





                                                   
            กลุ่มของเพื่อนที่นำเสนอของเล่นเข้ามุมวิทยาศาสตร์
กลุ่มที่  1  ภาพสองมิติ
กลุ่มที่  2  นิทานเคลื่อนที่โดยแม่เหล็ก
กลุ่มที่  3  กล่องสีน่าค้นหา
กลุ่มที่  4  รถลงหลุม
กลุ่มที่  5  ลิงห้อยโหน
กลุ่มที่  6  เวทีซูโม่กระดาษ
กลุ่มที่  7  กระดาษเปลี่ยนสี
กลุ่มที่  8  การเจริญเติบโตของสัตว์
กลุ่มที่  9  ความสัมพันธ์ของสัตว์


วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

 9 September 2013


Science Experiences Management For Early Childhood   EAED 3207

Time 8:30 - 12:20 am


ครั้งที่  15




-   ไม่มีการเรียนการสอนเพราะอาจารย์ติดธุระ



*  อาจารย์นัดเรียนชดเชยในวันถัดไป